ชิปปิ้ง 8 ขั้นตอน ในการนำเข้าสินค้าทางเรือ

ชิปปิ้ง 8 ขั้นตอน ในการนำเข้าสินค้าทางเรือ-Papershipping ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 8 ขั้นตอน ในการนำเข้าสินค้าทางเรือ                       8                                                                                                Papershipping 768x402

ชิปปิ้งบริการนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย ที่ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวนมากสั่งซื้อสินค้าจากจีนเพื่อนำมาจำหน่ายต่อและส่วนใหญ่มักขนส่งสินค้าทางน้ำหรือทางเรือ (Sea Freight)

โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางเรือนั้น มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการขนส่งประเภทอื่น แถมยังสามารถขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมากๆ ในคราวเดียวกัน จึงเหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากและไม่ได้เป็นสินค้าเร่งรีบเนื่องจากต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการขนส่ง

       อย่างไรก็ดี การนำเข้าสินค้าหรือชิปปิ้งจากจีนมาไทยนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาถึงขั้นตอน วิธีการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะสามารถวางแผนการดำเนินงานและสามารถมองเห็นภาพรวมของกระบวนการขนส่งสินค้าได้ทั้งหมด โดยขั้นตอนการขนส่งสินค้าทางเรือที่สะดวกและได้รับความนิยม คือ การขนส่งแบบ Door-To-Door เป็นการขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ดังนี้

  1. เริ่มต้นตั้งแต่โรงงานของผู้ผลิตหรือโกดังของผู้ส่งออก (Exporter) หลังจากผลิตและจัดเตรียมเอกสารการส่งออกสินค้าเรียบร้อยแล้ว จะทำการติดต่อบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า (Freight Forwarder) หรือสายการเดินเรือ (Shipping Line) เพื่อทำการจองระวางเรือขนส่งไปยังเมืองท่าปลายทาง
  2. เมื่อได้รับใบยืนยันการจองระวางเรือ (Booking Confirmation) จากบริษัทตัวแทนขนส่งหรือสายการเดินเรือที่ใช้บริการเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำการขนส่งสินค้าจากสถานที่ส่งออกนั้นไปยังท่าเรือต้นทาง ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบยืนยันการจอง
  3. การส่งออกสินค้า ผู้ส่งออกจะมีหน้าที่ดำเนินการผ่านพิธีทางศุลกากรขาออกทุกครั้ง โดยสามารถดำเนินการด้วยตนเองหรือว่าจ้างบริษัทตัวแทนออกของ (Customs Broker) ให้ดำเนินการแทนได้ โดยเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการผ่านพิธีการศุลการ ได้แก่

                  – ใบขนสินค้าขาออกต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ 

                  – บัญชีราคาสินค้า (Commercial Invoice) 2 ฉบับ

                  – บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)

                  – ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารประกันภัยหรือเอกสารตามที่ศุลกากรกำหนด

  1. เมื่อสินค้ามาถึงที่ท่าเรือต้นทาง (Port of Loading) สายการเดินเรือ ที่ใช้บริการจะยกตู้สินค้าขึ้นเรือและออกใบตราส่งสินค้า (Bill of Loading) ให้กับผู้ส่งออกเพื่อยืนยันการได้รับสินค้า แล้วเรียกเก็บค่าบริการ (Freight and Local Charges) จากผู้ส่งออก
  2. เมื่อเรือบรรทุกสินค้าเดินทางไปถึงท่าเรือปลายทาง (Port of Discharge) สายการเดินเรือจะยกตู้สินค้าลงจากเรือบรรทุก จากนั้นผู้นำเข้า (Importer) จะเป็นผู้ทำการติดต่อกับสายการเดินเรือนั้นเพื่อชำระค่าใช้จ่ายปลายทาง (Local Charges) พร้อมกับนำใบตราส่งสินค้า ที่ได้รับจาก Shipper นำไปเปลี่ยนเป็นใบตราส่งสินค้า (Delivery Order) กับสายการเดินเรือเพื่อใช้ในการนำสินค้าออก
  3. ผู้นำเข้าสินค้าจะเป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีศุลกากรขาเข้าและชำระภาษีอากรขาเข้า โดยทำการบันทึกข้อมูล เอกสารสำคัญที่ใช้ในการผ่านพิธีศุลกากรขาเข้าเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์หรือผ่าน Service Counter ประกอบด้วย

                  – ข้อมูลเรือเข้า

                  – ใบตราส่งสินค้า

                  – แบบรายละเอียดบรรจุหีบห่อ

                  – ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน

                  – ใบอนุญาตหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่ศุลกากรกำหนด

เอกสารดังกล่าวนี้ จะถูกแปลงเป็นใบขนสินค้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเรือเทียบท่าและข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกส่งไปยังกรมศุลกากรผ่านระบบออนไลน์ จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการตรวจสอบข้อมูลอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์

  1. หลังจากผ่านพิธีทางศุลกากรขาเข้าแล้ว ผู้นำเข้านำใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จเสียภาษีอากร และใบปล่อยสินค้า (Delivery Order) ไปปล่อยสินค้าในท่าเรือและขนถ่ายสินค้า จากนั้นเตรียมรถสำหรับขนส่งสินค้าไปยังสถานที่หรือโกดังของผู้นำเข้า
  2. เมื่อรับสินค้ามาถึงสถานที่หรือโกดังแล้ว ผู้นำเข้าจะทำการตรวจสอบสภาพสินค้าและความเรียบร้อยก่อนเซ็นรับสินค้า อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการส่งออกและนำเข้าสินจากต่างประเทศ จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ได้แก่

         1.) ภาษีนำเข้า ใช้สำหรับสินค้าทั่วไปหรือสินค้าพวกวัตถุดิบธรรมดาเท่านั้น สูตรการคำนวณคือ

                      ภาษีนำเข้า = (ราคานำเข้าสินค้าบนใบ Invoice x อัตราแลกเปลี่ยน) x อัตราภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) 7%

          2.) ค่ารับใบตราส่งสินค้าหรือ Delivery Order (D/O) เป็นตราสาร ที่สายการเดินเรือออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

                  2.1. FCL (Full Container Load) การบรรทุกสินค้าแบบเต็มตู้ และเสียค่านำตู้สินค้ามาลงไว้ที่ท่าเรือ โดยจะคิดค่าระวางตามจำนวนตู้

                           – ตู้ 20 ฟุต ใช้อัตรา 4,000 – 5,000 บาท ขึ้นไป

                           – ตู้ 40 ฟุต ใช้อัตรา 5,000 – 6,000 บาท ขึ้นไป

                    2.2. LCL (Less Container Load) การบรรทุกสินค้าแบบไม่เต็มตู้ และเสียค่าสินค้าเข้าโกดังพักสินค้าและออกเอกสารรับรองสิทธิ์การรับสินค้า คิดค่าระวางตามลูกบาศก์เมตร (CMB) หรือน้ำหนักปริมาตร (Weight Ton) ใช้อัตรา 3,500 – 4,500 บาท และคิดค่าส่วนเกินที่ประมาณ 1,500 บาท (วิธีคำนวนน้ำหนักปริมาตร = กว้าง x ยาว x สูง (ซ.ม.) /1,000,000)                             

            3.) ค่าออกใบตราส่ง (Bill of Lading) เป็นค่าธรรมเนียม ที่บริษัทเรือต้องจัดพิมพ์ใบ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการแสดงสถานภาพ (Status) ว่าสินค้าได้มีการขนส่งไปกับบริษัทเรือ มีออกเป็นหลายฉบับ เช่น ฉบับที่เรียกว่า Original, Duplicate Original, Triple Original และ Copy Non-Negotiate ทั้งหมดนี้ทางบริษัทเรือจะเรียกเก็บจากผู้ส่งออกเป็นค่าใช้จ่ายในการทำเอกสาร นอกจากนี้ ยังอาจมีค่าใช้จ่าย Local Charge อื่นๆ เพิ่มเติมในการดำเนินการภายในท่าเรือ ผู้ส่งออกควรแจ้งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้กับผู้นำเข้าที่ปลายทางให้ทราบก่อนล่วงหน้า 

          สำหรับขั้นตอนการดำเนินการส่งออก-นำเข้าสินค้าหรือชิปปิ้ง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจโดยละเอียด (ศึกษาเทรนด์ธุรกิจเพิ่มเติมได้ที่ 5 เทรนด์มาแรงปี 2020 ที่ผู้ประกอบการ E-Commerce ต้องรับมือ) รวมทั้งเลือกบริษัทชิปปิ้งที่เป็นมืออาชีพ มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและไว้ใจได้อย่าง Papershipping ซึ่งให้บริการชิปปิ้งสินค้าจากต้นทางถึงปลายทาง พร้อมระบบเช็คสถานะของสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ