Shipping จีน 5 เทรนด์มาแรงปี2020 ที่ผู้ประกอบการ E-Commerce ต้องรับมือ

Shipping จีน 5 เทรนด์มาแรง_papershipping shipping จีน Shipping จีน 5 เทรนด์มาแรงปี2020 ที่ผู้ประกอบการ E-Commerce ต้องรับมือ 5                                   papershipping 768x402

Shipping จีน เรียกได้ว่าปีนี้เป็นปีทองของธุรกิจ E-Commerce ก็ว่าได้ ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างมหาศาลให้กับผู้ประกอบการ SME

ที่สำคัญธุรกิจ E-Commerce ยังเป็นช่องทางการจำหน่ายที่ใช้ต้นทุนต่ำ แต่สามารถขยายผลของต้นทุนให้งอกเงยขึ้นมา จากข้อมูลของ Priceza พบว่า ในปีนี้ E-Commerce ถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่องทางหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น E-Marketplace, Social Commerce และ E-Brand

โดย 40% มีการซื้อขายมากที่สุดทาง Social Commerce ผ่านช่องทาง Social Media อาทิ LINE, Facebook , Instagram ในขณะที่ E-Marketplace ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, JD Central.com ได้รับความนิยม 35% และมีแนวโน้มจะเติบโตสูงขึ้น ในส่วนของ E-Retail หรือ E-Brand ได้รับความนิยมลดหลั่นลงมาคือ 25% ซึ่งช่องทางทั้ง 3 รูปแบบนั้น เป็นการช็อปปิ้งผ่านสมาร์ทโฟนถึง 99% ในจำนวนนี้ แบ่งออกเป็น ดำเนินการก่อนและหลังซื้อบนสมาร์ทโฟน 70% ในขณะที่ 77% เป็นการค้นหาข้อมูลก่อนดำเนินการสั่งซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน และ 56% มีการเปรียบเทียบสินค้าที่ต้องการก่อนตัดสินใจซื้อ รวมไปถึงการใช้บริการขนส่งสินค้า (Shipping จีน)

ข้อมูลของ Priceza ระบุว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เงินในการช็อปปิ้งออนไลน์เฉลี่ย 475 บาท/คน ยอดลดลงจากปีที่แล้ว ที่มีการใช้เงินในการช็อปปิ้งออนไลน์เฉลี่ยคนละ 769 บาท ส่วนหนึ่งได้รับผลมาจากกลยุทธ์ E-Marketplace มีความต้องการดึงผู้บริโภครายใหม่เข้ามาใช้บริการ ด้วยโปรโมชั่นลดราคา จึงส่งผลให้การใช้เงินต่อคนลดลง นอกจากนี้ การชำระเงินด้วยการโอน ยังเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดถึง 43% รองลงมาคือเครดิตการ์ด 38% ลำดับที่ 3 และ 4 คือ COD (บริการชำระเงินปลายทาง) 17% และ E-wallet ประมาณ 2%

                และต่อไปนี้คือ 5 แนวโน้มมาแรงในปี 2020 ที่เกี่ยวกับธุรกิจ E-Commerce โดยตรง

  1. ต่างชาติเจาะตลาดไทย

แม้ปีนี้จะเป็นปีทองของธุรกิจ E-Commerce แต่ปีหน้า 2020 นี้ จะกลายเป็นปีที่ดียิ่งกว่าเดิม และธุรกิจ E-Commerce จะมีการพลิกโฉมให้เห็นชัดเจน ส่วนหนึ่งมาจากการที่ชาวต่างชาติบุกตลาดเข้าสู่ประเทศไทยในรูปแบบ Cross Border

จากข้อมูลปรากฏว่า เมื่อรวม E-Marketplace ทั้ง 3 รายใหญ่ ประกอบไปด้วย Lazada, Shopee, JD Central.com มียอดสินค้าที่จำหน่ายได้ในปี 2019 สูงถึง 174 ล้านชิ้น มากกว่าปี 2018 ถึง 100 ล้านชิ้น และเติบโตขึ้น 2.4 เท่า (ในปี 2018 จำนวนสินค้าที่จำหน่ายมีจำนวนอยู่ที่ 74 ล้านชิ้น) และเมื่อจำแนกการจำหน่ายในปี 2019 พบว่า สินค้าที่มาจาก Cross Border สูงถึง 135 ล้านชิ้น มีสินค้าของไทย 39 ล้านชิ้น ในขณะที่มีผู้ขายคนไทยสูงถึง 1 ล้านราย แต่ผู้ขาย Cross Border มีเพียง 8.1 หมื่นรายเท่านั้น

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้า Cross Border มีราคาถูก สามารถจำหน่ายสินค้าได้หลากหลายประเภท ในขณะที่ผู้ขายคนไทยได้จำหน่ายสินค้าไม่กี่ประเภทเท่านั้น แต่กลับมีราคาสูง โดยรองเท้าผู้ชายและ Gadgets เป็นสินค้าที่นิยมซื้อแบบ Cross Border มากที่สุด นอกเหนือจากนี้ยังมี Case Study ชี้ให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือน การขนส่งสินค้าจากจีนมาไทย (Shipping จีน) ใช้เวลาน้อยลง เดิมทีใช้ระยะเวลาถึง 12-15 วัน ปัจจุบันเหลือเพียง 6-7 วัน นั่นเป็นผลมาจากต้นทางอย่างประเทศจีนได้ลดเวลาตรวจสินค้าจาก 9 วัน เหลือเพียง 2 วันเท่านั้น ทำให้การนำเข้าสินค้าจากจีน (Shipping จีน) ใช้เวลาลดลง

เหตุผลสำคัญที่ทำให้สินค้าต่างประเทศเข้ามาในไทยมากขึ้น มาจากความต้องการที่จะสร้างความหลากหลายของ E-Marketplace ทำให้มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาจำหน่ายในแพลตฟอร์มของตัวเอง ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยการ Shipping จีน เพราะมีสินค้าหลากหลาย และมีคุณภาพ ราคาย่อมเยา รวมไปถึงนโยบายของรัฐได้มีการสนับสนุนเปิดเสรีทางการค้า (Free Trade) โดยมีข้อกำหนดว่าสินค้าราคาไม่เกิน 1,500 บาท ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า และ VAT ยิ่งทำให้ตลาดการนำเข้าสินค้ามีความคึกคัก กอปรกับผู้บริโภคต้องการสินค้าในราคาที่ถูก

ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญ 3 เรื่องด้วยกัน คือ สร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร และชูสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น การสร้างความประทับใจโดยให้บริการการซื้อสินค้าเป็นเรื่องง่าย รวมทั้งขยายช่องทางต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, E-Marketplace และ Social Media

 

  1. แบรนด์จำหน่ายสู่ลูกค้าโดยตรง

ปัจจุบัน มีแบรนด์ที่จำหน่ายอยู่ใน E-Marketplace มากกว่า 44,000 แบรนด์ และแบรนด์ที่ทำการจำหน่ายเองสูงถึง 1,700 อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่แบรนด์จะเริ่มจำหน่ายสินค้าในจำนวนที่มากขึ้นตามอัตราการเติบโตของ E-Commerce ที่สำคัญคือ แบรนด์เหล่านี้มีการจำหน่ายสินค้าไปถึงผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลาง เช่น จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นอย่างการเปิดเพจเฟซบุ๊กใหม่โดยเฉพาะ ในขณะที่เพจ Official จะเน้นในการสร้างแบรนด์

เนื่องจากว่า แบรนด์ได้เล็งเห็นว่าการจำหน่ายสินค้าด้วยตัวเองจะทำให้เกิดความใกล้ชิดกับผู้บริโภค ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงข้อมูลของผู้บริโภคได้โดยตรง รับรู้ถึงปัญหาและการให้บริการ อาทิ การขนส่งสินค้า (Shipping จีน) ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและทำให้ได้รับรู้ความต้องการของผู้บริโภค จุดนี้เองที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความภักดี (Loyalty) ต่อแบรนด์ เมื่อแบรนด์มีข้อมูล (DATA) ของผู้บริโภคแล้ว ในปี 2020 จะมีการนำข้อมูลเหล่านี้ มาสร้างการตลาดในรูปแบบ Personalize ในแบบ Real-Time

  1. เครื่องมือใหม่ช่วยให้การซื้อขายบนโลก Social ง่ายดาย

จากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำระดับโลกในการซื้อขายผ่าน Social Media ในสัดส่วนถึง 40% ในรูปแบบของ Social Commerce ในขณะที่ประเทศเวียดนามตามมาติดๆ เป็นอันดับสอง ในสัดส่วน 36%  ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่ มีการจำหน่ายผ่านช่องทาง Social มากที่สุดถึง 47% สำหรับ Social Media ที่แบรนด์นิยมใช้มากที่สุดคือ Facebook และแอปพลิเคชั่นในเครือ ไม่ว่าจะเป็น Instragram, Messenger และ WhatsApp มากถึง 61% อีก 39% คาดว่าเป็นการซื้อขายผ่าน LINE

ในปี 2020 คาดว่าการซื้อขายผ่าน Social จะเติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการที่แอปพลิเคชั่นทาง Social ได้พยายามพัฒนาและปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อช่วยให้เรื่องการซื้อขายกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น อย่าง Facebook Pay ช่วยให้การซื้อขายบน Facebook ไม่จำเป็นต้องสลับแอปพลิเคชั่นไปมาระหว่าง Facebook กับแอปพลิเคชั่นด้าน Payment หรือในขณะที่ LINE ได้เปิดตัว LINE OA Plus e-Commerce ช่วยให้ปิดการซื้อขายได้ในหน้าแชทของ LINE Official Account ได้ทันที

นอกจากนี้ ในปี 2020 แบรนด์ที่ใช้ช่องทาง Social Media จะไม่จำเป็นต้องวัดแผนการตลาดโดยดูข้อมูลจาก Engagement อีกต่อไป แต่สามารถวัดผลจากยอดจำหน่ายได้เลย ด้วยเหตุนี้ จึงคาดการณ์กันว่าการใช้เครื่องมือหรือบริการต่างๆ จาก Social ก็จะมีราคาสูงขึ้นด้วย

  1. Ride Hailing เติบโตสูงตามธุรกิจ E-Commerce

Ride Hailing คือการพัฒนาบริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชั่น  ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจ E-Commerce โดยตรง เมื่อการขายสินค้ามีอัตราการเติบโตสูงขึ้น การใช้จ่ายออนไลน์ผ่านรูปแบบธุรกิจ Ride Hailing ก็มีความเติบโตควบคู่สูงขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะกับธุรกิจส่งอาหาร (Food Delivery) ซึ่งในไทยมี 3 รายยักษ์ใหญ่ คือ Grab, GET และ LINEMAN

ปีนี้กลุ่มธุรกิจ Ride Hailing เติบโตเร็วมาก จากการทำตลาด Food Delivery ซึ่งเน้นการแข่งขันในเรื่องความหลากหลายของบริการและการส่งไว ในปีหน้าธุรกิจ Ride Hailing จะขยายบริการเข้าสู่ธุรกิจ E-Commerce โดยมุ่งเน้นในการให้บริการจัดส่งสินค้าภายใน 1 วันหรืออาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น นั่นเป็นผลมาจากปีนี้กลุ่มธุรกิจ Ride Hailing สามารถให้บริการจัดส่งอาหารได้ในระยะเวลาหลักนาทีเท่านั้น

จึงกลายเป็นผลลัพธ์ที่จะส่งผลให้ปี 2020 การซื้อขายผ่าน E-Commerce มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยความเร็วในการจัดส่งสินค้าผ่านกลุ่มธุรกิจ Ride Hailing ทั้งนี้ แบรนด์หรือผู้ประกอบการ ที่จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ E-Commerce สามารถใช้กลุ่มธุรกิจ Ride Hailing เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้

  1. สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมตัวรับมือ

ในปีหน้านี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นปีที่อันตรายมากสำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าสู่โลกออนไลน์ เพราะอิทธิพลยักษ์ใหญ่จากจีนกำลังเตรียมตัวบุกเข้ามาสู่ตลาดไทยอย่างเต็มที่ ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งตัว ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากจีนมีราคาถูก เมื่อเทียบสินค้าจากไทย และบริการ Shipping จีน เองก็ใช้เวลาที่น้อยลงกว่าเมื่อก่อน (ในขั้นตอนการตรวจสอบสินค้า)

ยิ่งเมื่อรวมกับการขนส่งที่รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านธุรกิจ Ride Hailing ในประเทศ ที่สั่งตอนนี้อีก 2 ชั่วโมงจะได้รับสินค้า นั้นยิ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการใช้ความเร็วในการจัดส่งผลิตภัณฑ์เป็นจุดขายที่จะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่สุด คือ การนำข้อมูล (DATA) ของผู้บริโภคมาใช้ในการทำการตลาด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SME สำหรับการได้ข้อมูล (DATA) ของผู้บริโภคอาจกลายเป็นเรื่องยาก ถึงอย่างนั้นก็ควรเร่งหาข้อมูล (DATA) มาไว้ในมือ

ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีข้อมูล (DATA) ในมืออยู่แล้ว ต้องเร่งนำข้อมูล (DATA) เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเร็วที่สุด เนื่องจากแบรนด์ใหญ่ๆ ที่หันมาเล่นในตลาด E-Commerce นั้น เพราะพวกเขามีข้อมูล (DATA) ของผู้บริโภคมากมายมหาศาลและสามารถใช้งานข้อมูล (DATA) เหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ถึงเวลาที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ และจัดระบบข้อมูลในองค์กรเพื่อให้ง่ายต่อการนำออกมาใช้

เมื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็ไม่ควรพลาดในการอัพเดทข่าวสารสำคัญเกี่ยวกับธุรกิจ E-Commerce ถึงอย่างนั้นประเทศไทยยังคงนิยมนำเข้าสินค้าจากจีน โดยส่วนใหญ่สั่งซื้อจากเว็บไซต์ Taobao และ Tmall เพื่อเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง แต่อย่าลืมเลือกใช้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน (Shipping จีน) ได้จาก Papershipping มาตรฐานระดับมืออาชีพ เชี่ยวชาญการนำเข้าสินค้า (Shipping จีน) ให้สินค้าส่งตรงถึงมือผู้รับ