ชิปปิ้ง สำหรับการขนย้ายสินค้าในท่าเรือยุคนี้ ไม่ได้ใช้แรงงานคน แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เกือบทุกขั้นตอน
เพราะในแต่ละท่าเรือนั้น ต้องทำเวลาและมีการแข่งขันกันนาทีต่อนาที เพื่อยกสินค้าขึ้น-ลง
ปัจจุบัน ระบบการจัดการท่าเรือจะเรียกว่า Port Automation ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารจัดการท่าเรือให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด โดยใช้ระบบของ Computer และหุ่นยนต์ในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บริเวณหน้าท่าเรือ
วันนี้ Paper Shipping ผู้ให้บริการชิปปิ้งจีน ได้มีขั้นตอนที่น่าสนใจของการขนส่งท่าเรือ และกระบวนการขนย้ายสินค้าในเรือ มาเล่าสู่กันฟัง เริ่มจาก…
- Stacking Lanes ขั้นตอนแรกคือการขนย้ายสินค้าไปวางเรียงกันเป็นชั้นๆ เรียกว่า Stack ปกติอาจมีการวางเรียงไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 4-5 ชั้น โดยมีเครนขาสูง (Gantry Crane) เป็นเครื่องมือในการขนย้าย ซึ่งปัจจุบันท่าเรือหลายแห่งได้นำเอาระบบ Computer Right เข้ามากำหนด Location ในการวางตู้ โดยมีหอ Control Room ในการควบคุมระบบการทำงาน
- เมื่อขั้นตอนแรกเสร็จสิ้นเรียบร้อย กระบวนการถัดมาจะต้องเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ไปไว้หน้าท่า อาจใช้เครนขาสูง (Gantry Crane) หรือรถยกที่เรียกว่า Top เพื่อทำหน้าที่สำหรับเคลื่อนย้ายคอนเทนเนอร์
- ขั้นตอนสุดท้าย คือการ Slot Stacking คือการยกตู้สินค้าที่วางอยู่หน้าท่า Quay ขึ้นไปวางไว้บนเรือ โดยมี Quay Crane คือ Crane ที่อยู่หน้าท่าทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย
ข้อควรรู้คือ ประเทศไทยมีท่าเรือหลักที่สำคัญอย่างท่าเรือกรุงเทพฯ มีตู้เข้า-ออกประมาณเกือบ 1 ล้านตู้ต่อปี และท่าเรือแหลมฉบัง มีตู้เข้า-ออกประมาณ 2.9-3.0 ล้าน TEU
นอกเหนือจากท่าเรือหลักสำคัญภายในประเทศไทยแล้ว ยังมีท่าเรือมาบตาพุด, ท่าเรือสตูล และท่าเรือน้ำลึกสงขลา โดยประเทศไทย ยังต้องแข่งขันกับหลายประเทศด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศสิงคโปร์ หรือฮ่องกง ซึ่งมีตู้เข้า-ออก ปีละประมาณ 17.04 ล้าน TEU
ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์อาจดูเหมือนไม่ซับซ้อน แต่ยังต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ช่วยในการเคลื่อนย้าย และต้องแข่งขันกับเวลา นอกจากนี้ยังมีชนิดหรือขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ มาเกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางทะเล หรือที่เรียกว่าเป็นการขนส่งทางทะเลด้วยระบบ ‘ตู้คอนเทนเนอร์’ ซึ่งจำเป็นต้องแยกชนิดหรือประเภทของตู้เอาไว้ เพื่อความชัดเจนว่าตู้ไหนบรรจุสินค้าประเภทใด
สำหรับการขนส่งสินค้าด้วย Container Vessel (ระบบตู้คอนเทนเนอร์) สินค้าต้องบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ หากผู้จำหน่ายเป็นผู้บรรจุเอง เรียกว่า Term CY หรือ Consignee Load and Count ในกรณีที่บริษัทเรือเป็นผู้บรรจุตู้สินค้าในท่าเรือหรือใน ICD (Inland Container Deport) โดยตัวแทนบริษัทเรือเป็นเจ้าของสถานที่ จะเรียกลักษณะการขนส่งประเภทนี้ว่า CFS (Container Freight Station) เป็นต้น
ขณะเดียวกันสินค้าที่เป็น Term CY ได้นั้น ต้องเป็นสินค้าประเภทเต็มตู้หรือที่เรียกว่า FCL (Full Container Load) ส่วนใน Term CFS ก็สามารถเป็นได้ ทั้งที่เป็น FCL หรือการบรรจุแบบรวมตู้ (Consolidated) คือ สินค้าน้อยกว่า 1 ตู้ เรียกว่า LCL (Less Container Load)
ขนาดของ Containers ที่ใช้เพื่อบรรจุส่วนใหญ่ มีขนาดดังนี้
- ขนาด 20 ฟุต เป็นตู้ที่มี Outside Dimension คือยาว 19.10 ฟุต และกว้าง 8.0 ฟุต สูง 8.6 ฟุต และมีน้ำหนักบรรจุตู้ได้สูงสุดประมาณ 32-33.5 CMU (คิวบิกเมตร) และน้ำหนักบรรจุตู้ไม่เกิน 21.7 ตัน
- ขนาด 40 ฟุต มีความยาว 40 ฟุต กว้าง 8 ฟุต สูง 9.6 ฟุต สามารถบรรจุสินค้าได้ 76.40-76.88 CMU และบรรจุสินค้าน้ำหนักสูงสุดได้ 27.4 ตัน ซึ่งเป้นน้ำหนักสำหรับสินค้าประเภท Dry Cargoes หรือตู้ใส่สินค้าทั่วไป
ในการขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบการขนส่งมาตรฐาน และเป็นการขนส่งที่ผู้ให้บริการชิปปิ้งส่วนใหญ่ใช้กัน คิดเป็นสัดส่วนโดยประมาณ 95% ของการขนส่งสินค้าทางทะเล อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการชิปปิ้งที่ขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ยังมีเพียงน้อยรายหากเทียบกับปริมาณของการขนส่ง โดยผู้ให้บริการสายการเดินเรือหรือที่เรียกว่า Carrier มีการรวมตัวกันเป็นชมรม (Conference) ทำให้มีบทบาทในการกำหนดค่าขนส่งสินค้า และค่าบริการชิปปิ้งในอัตราที่บางครั้งมีลักษณะแบบกึ่งผูกขาด
ปัจจุบัน ชมรมสายการเดินเรือที่สำคัญของโลก มีใครบ้าง ?
- Far Eastern Freight Conference (FEFC) บริการรับขนสินค้าจากเอเชียไปยุโรป เน้นสินค้าที่ขนส่งทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นอาณาบริเวณที่มีการขยายตัวประมาณ 24% และสินค้าที่ไปทางรัสเซียตะวันออก Petersburg
- Asia / West Coast South America เป็นการเดินเรือทางด้านตะวันตกของเอเชีย ไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้
- Informal Rate Agreement (IRA) ได้ครอบคลุมธุรกิจจากเอเชียไกลไปจนถึงเอเชียภาคตะวันออกกลาง ครอบคลุมตั้งแต่เกาหลี, จีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน, เวียดนาม, ไทย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
- Trans Pacific ครอบคลุมอาณาบริเวณริมมหาสมุทรแปซิฟิก ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อเมริกา West Coast
อ้างอิงข้อมูล http://www.marinerthai.net/sara/viewsara1006.php