ชิปปิ้งปัจจุบันการขนส่งทางบกได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
เมื่อมีการเปิดเส้นทางขนส่งทางบกระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย เป็นเส้นทางถนน ‘คุนมั่นกงลู่’ หรือเส้นทางคุนหมิง – กรุงเทพฯ (เส้นทาง R3)
การเปิดเส้นทางการขนส่งดังกล่าว ส่งผลให้มีความต้องการด้านโลจิสติกส์หรือชิปปิ้งเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ
เส้นทาง R3 ถูกกำหนดโดยกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (Asean Economics Community) มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมโยงให้กับประเทศอื่นๆ ที่ติดกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น ทางตอนเหนือ สามารถผ่านทะลุไปยังประเทศจีน
เมื่อกล่าวถึงมณฑลยูนนาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นดินแดนที่ไม่มีเส้นทางออกทะเลเพื่อติดต่อด้านการค้าระหว่างประเทศ สินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าและส่งออกจากมณฑลอื่นแทน ในกรณีที่ต้องการนำเข้าและส่งออกสินค้าโดยตรงกับมณฑลยูนนาน จึงนิยมใช้เส้นทางถนนตามแนวชายแดนระหว่างมณฑลยูนนานกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 ซึ่งมีระยะทางประมาณ 4,060 กิโลเมตร และมีด่านทางบกที่สำคัญ
การขยายตัวด้านการค้าระหว่างประเทศทำให้นครคุนหมิงได้พัฒนาด่านทางบก เพื่อรองรับกับการเจริญเติบโต จึงเป็นการพัฒนาพื้นที่เป็นท่า และด่านทางบกที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าระหว่างจีนและไทยหรือชิปปิ้งจีน ต้องใช้เส้นทางผ่านลาวและพม่าจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน ซึ่งมีระยะทางระหว่างนครคุนหมิงกับกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร
เส้นทางนี้ใช้สำหรับการขนส่งเป็นส่วนใหญ่ ผ่าน สปป.ลาว โดยผ่านด่านอำเภอเชียงของและข้ามแม่น้ำโขง แต่ยังมีอีกเส้นทางที่มีปัญหาด้านการขนส่งสินค้าคือเส้นทางในพม่า เนื่องจากมีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย ความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทาง และมีการเก็บค่าผ่านทางตลอดเส้นทางดังกล่าว จึงทำให้เส้นทางนี้ใช้สำหรับการขนส่งน้อยมาก
เส้นทาง R3 ประกอบไปด้วย 2 เส้นทาง คือ R3A และ R3B ที่นิยมใช้ที่สุดคือ R3A การเชื่อมต่อไทย-จีน เริ่มต้นที่เชียงราย สู่เชียงของ ก่อนข้ามไปที่แม่น้ำโขง เพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองบ่อแก้วของลาว ผ่านเมืองเวียงคา หลวงน้ำทา เชื่อมต่อกับชายแดนจีน ที่เมืองบ่อเต็น มุ่งสู่เมืองเชียงรุ้งและไปสิ้นสุดที่คุนหมิง มณฑลยูนนาน ด้วยระยะทางทั้งหมด 1,200 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่นิยมใช้สำหรับการขนส่งสินค้าทางบกอย่างมาก เพราะมีความสะดวกในเรื่องการเดินทาง แต่ไม่สามารถขับขี่รถด้วยความเร็วได้ เนื่องจากเส้นทางถูกสร้างตามแนวภูเขาและเป็นทางโค้ง ใช้เวลาเดินทาง 2-3 วัน
สายที่ 2 คือ R3B การเชื่อมต่อจีนและไทย เริ่มต้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เชื่อมต่อกับท่าขี้เหล็กของพม่า ผ่านเมืองเชียงตุง มุ่งสู่ชายแดนพม่า ก่อนทะลุเข้าสู่ประเทศจีนที่เมืองดาลั้ว หลังจากนั้นจึงไปรวมกับเส้นทาง R3A ณ เมืองเชียงรุ้ง และไปยังเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน มีระยะทางประมาณ 380 กิโลเมตร
เส้นทางการขนส่งทางบกที่กล่าวมานี้เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับการขนส่งสินค้าทั้งการขนส่งทางบกและการขนส่งทางเรือระบบตู้คอนเทนเนอร์ที่ต้องมีการต่อทางบกอีกช่องทาง รวมทั้งการใช้ระยะเวลานานกว่าการขนส่งทางรถบรรทุกอย่างมาก ซึ่งการขนส่งทางเรือหรือการขนส่งทางทะเลระบบตู้คอนเทนเนอร์ยังต้องมีการต่อทางบกอีกทาง ใช้เวลาในการขนส่งประมาณ 1 สัปดาห์
การขนส่งทางบกก็เหมือนกับการขนส่งรูปแบบอื่นๆ คือต้องมีการผ่านพิธีศุลกากรที่ด่านปลายทาง จึงต้องมีการดำเนินการด้านเอกสารเพื่อขออนุญาตส่งออกนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับการขนส่งทางรถมีข้อดีที่คุณอาจไม่รู้ อ่าน ‘เจาะลึก 5 ข้อดีของอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางรถ’ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการขนส่ง ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าการขนส่งรูปแบบอื่นๆ