ชิปปิ้งจีน อะไรคือการแล่นเรือที่ว่างเปล่า (Blank Sailing) ?

ชิปปิ้งจีน อะไรคือการแล่นเรือว่างเปล่า ชิปปิ้งจีน ชิปปิ้งจีน อะไรคือการแล่นเรือที่ว่างเปล่า (Blank Sailing) ?                                                                                   768x402

ชิปปิ้งจีนหรือผู้ประกอบการขนส่งรู้จักกับ Blank Sailing หรือการแล่นเรือเปล่าคืออะไร? มีผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าทางเรือและการขนส่งทั่วโลกอย่างไร?

วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากผู้ประกอบการและผู้ให้บริการชิปปิ้งจีน เพื่อทำความเข้าใจกับสาเหตุและวิธีรับมือเมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว

ปกติแล้ว เส้นทางการเดินเรือมี 2 รูปแบบ คือ Liner Service และ Tramp Service โดย Liner Service หมายถึง บริการประจำเส้นทาง หรือเป็นเส้นทางประจำที่เรือต้องแล่น ซึ่งมีเส้นทาง ตารางการเดินเรือที่แน่นอน เช่น บอกรายละเอียดเกี่ยวกับเรือที่ให้บริการ จำนวนการเดินทางในแต่ละครั้ง ทั้งเวลาที่เรือเดินทางเข้าเทียบท่า EAT (Estimate Time of  Arrival) และประมาณเวลาที่เรือออกเดินทางจากท่า ETD (Estimate Time of Departure) รวมไปถึงมีการเก็บค่าระวางที่แน่นอน

อีกประเภทหนึ่งคือ Tramp Service หมายถึง เรือจร ซึ่งการเดินเรือจะขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างหรือเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง เป็นต้น

Blank Sailing มักเกิดจาก Liner Service ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือประจำที่เรือต้องแล่น แต่กลับไม่เข้าเทียบท่าตามเวลาปกติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้นำเข้าและผู้ให้บริการชิปปิ้งจีนที่รอสินค้าเข้าเทียบท่า เกิดความล่าช้าและเสียหาย ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่ผู้ให้บริการเดินเรือต้องทำการยกเลิกการเข้าเทียบท่า เช่น เกิดเหตุฉุกเฉินกับท่าเรือ ทำให้ท่าเรือไม่พร้อมใช้งาน เรือไม่สามารถจอดเทียบท่าได้ หรือไม่มีเรือสำหรับบรรทุกสินค้า ฯลฯ

‘การแล่นเรือเปล่า’ จึงขึ้นอยู่กับความถี่ของการให้บริการการเดินเรือ อาจเป็นรายสัปดาห์ สองสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือนก็ได้ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการแล่นเรือเปล่าเกิดขึ้น จะมีการประกาศในตารางเส้นทางการเดินเรือ เพื่อให้ลูกค้าสามารถจัดการแผนการขนส่งของพวกเขาได้ สิ่งนี้จึงถือเป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในเส้นทางการเดินเรือ

 

อะไรคือเหตุผลของการเดินเรือเปล่า?

บางกรณีท่าเทียบเรืออาจไม่พร้อมใช้งาน และไม่สามารถระบุหรือยืนยันเวลาที่แน่นอนได้ กรณีดังกล่าว เรือจึงจำเป็นต้องข้ามไปยังท่าเรืออื่นแทน

สำหรับการตัดสินใจข้ามท่าเรือทั้งหมดเพื่อชดเชยความล่าช้า นั่นหมายความว่าสินค้าที่มีแผนดำเนินการโหลดเพื่อโอนถ่ายอาจจำเป็นต้องถูกโหลดบนเรือลำถัดไปเท่านั้น ซึ่งอาจใช้เวลายาวนานเป็นสัปดาห์ อย่างไรก็ดี เหตุผลอื่นๆ สำหรับการแล่นเรือเปล่า เช่น

  1. ท่าเรือจำเป็นต้องมีการซ่อมแซม ซึ่งต้องดำเนินการได้ที่ท่าเรือเฉพาะเท่านั้น
  2. เรืออาจถูกยกเลิกด้วยเหตุผลบางประการ
  3. มีความล่าช้าของการจอดเรือที่ท่าเรือ เนื่องจากการหยุดดำเนินงานหรือเกิดการปิดท่าเรือ

เหตุผลข้างต้นเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป อย่างไรก็ตาม ยังมีการเดินเรือเปล่าให้เป็นไปตามแผนได้ในบางกรณี อาทิ เพื่อลดความสามารถในช่องทางการค้าและบริการบางอย่าง เช่น กรณีที่ผู้ให้บริการข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกต้องยกเลิกการเดินทางเรือหลายครั้ง เพื่อลดกำลังการผลิต TEU (Twenty foot Equivalent Unit : ตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) เนื่องจากความต้องการสินค้ามีจำนวนลดลงในช่วงวันตรุษจีน เป็นต้น  

 

ทางออกของการแล่นเรือเปล่า?

ปัจจุบันยังไม่มีการแก้ปัญหาใดๆ ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงสำหรับทางออกของการแล่นเรือเปล่า เนื่องจากมักจะขึ้นอยู่กับความผันผวนของตลาด อุปสงค์และอุปทาน อย่างไรก็ตาม หากต้องมีเหตุการณ์การเดินเรือเปล่าเกิดขึ้น  สิ่งที่สายการเดินเรือสามารถทำได้คือ แจ้งประกาศการเดินเรือเปล่านี้ให้กับลูกค้าโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเตรียมหาทางแก้ปัญหาให้การขนส่งสินค้าดำเนินไปตามกำหนดเวลาเดิมหรือล่าช้าน้อยที่สุด

นอกจากวางแผนเรื่องการเดินทางแล้ว ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการชิปปิ้งจีนควรศึกษา ‘รูปแบบขนส่งทาง เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทใด?’ เพื่อให้การบริหารจัดการเรือเป็นไปอย่างราบรื่น

อ้างอิงข้อมูล https://shippingandfreightresource.com/blank-sailing/