1688 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าทางบก

1688 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าทางบก 1688 1688 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าทางบก                                                                                   Papershipping 768x402

1688 เว็บไซต์ขายส่งสินค้าจากจีน หนึ่งในแพลตฟอร์มออนไลน์ในเครือ Alibaba ที่ผู้ประกอบการเลือกสั่งซื้อมากที่สุด และใช้บริการนำเข้าสินค้า (Import) จากบริษัทชิปปิ้งสำหรับดำเนินการขนส่งจากจีนมาไทย   

อย่างไรก็ตาม สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากเว็บไซต์ 1688 ควรค้นหาข้อมูลต่างๆ อาทิ การหาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค หาข้อมูลเรื่องภาษีนำเข้าสินค้า การติดต่อกับผู้จำหน่ายในต่างประเทศ รวมไปถึงการติดต่อกับบริษัทชิปปิ้งเพื่อดำเนินการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย

       ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการโดนยึดสินค้า หรือถูกสรรพากรเรียกดูเอกสารย้อนหลัง วันนี้ Papershipping จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการนำเข้าสินค้า ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้ผู้ที่สนใจนำเข้าสินค้ามองเห็นภาพรวมของขั้นตอนต่างๆ และเข้าใจได้กระจ่างยิ่งขึ้น มาดูกันเลย

1.ติดต่อกับโรงงานผู้ขาย

        จุดแรกของขั้นตอนขนส่งสินค้า ต้องเริ่มจากผู้ขายหรือผู้ผลิตเป็นอันดับแรก ส่วนใหญ่แล้วเรียกว่า ‘โรงงาน’ หรือผู้จำหน่าย (Shipper) โดยหน้าที่ของ Shipper คือการคุยกับลูกค้าเพื่อประสานงานและดำเนินการจัดการเรื่องสินค้า จากนั้น จึงหาบริษัทชิปปิ้งที่สามารถดำเนินการจัดการเรื่องเอกสารและการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปตามระบบและกฎของศุลกากร

2.ทำพิธีการศุลกากรขาออก

        ขั้นตอนนี้ทางผู้จำหน่าย (Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) ที่ได้จัดจ้างเอาไว้จะแสดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ว่ามีสินค้าอะไรที่กำลังจะนำออกจากประเทศนั้นๆ โดยปกติแล้วขั้นตอนนี้จะใช้เวลาไม่นานนัก หากไม่พบปัญหาอะไรให้ต้องแก้ไขเพิ่มเติม

3.จัดเตรียมเอกสารสำหรับการนำเข้า

       แน่นอนว่าต้องมีการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าก่อนถึงจะสามารถเบิกของได้ ซึ่งพิธีการศุลกากรนี้ใช้ระบบดิจิตอลทั้งหมด ทั้งการบันทึกข้อมูลพร้อมลงลายมือชื่อในโปรแกรมเพื่อส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยสามารถทำได้ด้วยตัวเองหรือผ่านบริษัทชิปปิ้ง (ผู้นำเข้า) เอกสารที่จำเป็นต้องยื่นนั้นคือใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งข้อมูลที่ต้องบันทึกลงระบบ ประกอบด้วย

  • ข้อมูลยานพาหนะนำเข้า ไม่ว่าจะเป็น รถ เรือ หรือ เครื่องบิน
  • ใบตราส่งสินค้า
  • บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ
  • บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ
  • เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุก ผุ้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น
  • ใบอนุญาตนำเข้าหรือเอกสารอื่นๆ ในกรณีสินค้านำเข้าเป็นข้อจำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • กรณีที่สินค้าเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้ ควรมีเอกสารการรับรองวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสารที่แสดงรายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารเรื่องข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet) เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาแปลงเป็นใบขนสินค้าอัตโนมัติ บันทึกลงสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรทางออนไลน์หรือทางอินเตอร์เน็ตนั้นเอง

4.เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

        หากศุลกากรได้รับข้อมูลที่บันทึกในระบบเป็นที่เรียบร้อย จะมีการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้า ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ผู้นำเข้า เลขประจำตัวของผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้า ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดระหว่างการตรวจสอบข้อมูลจุดใดจุดหนึ่ง ทางศุลกากรจะแจ้งกลับมายังผู้นำเข้าเพื่อทำการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง และส่งข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขใหม่กลับไปที่ศุลกากรอีกครั้ง ขั้นตอนนี้เองสามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้ง หากข้อมูลนั้นยังผิดพลาดอยู่ แต่เมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้

5.ตรวจสอบพิสูจน์ตามเงื่อนไขชำระภาษีอากรขาเข้า

       ขั้นตอนนี้เองที่ทางเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบพิสูจน์เกี่ยวกับข้อมูลสินค้าอย่างละเอียดตามเงื่อนไขที่ทางกรมศุลกากรกำหนดเอาไว้ โดยจะแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) โดยสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและสามารถวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที
  • ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าจะต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของที่นำเข้านั้นๆ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสินค้าแบบ Green Line

       แต่ในปัจจุบันนี้ ผู้นำเข้าสามารถชำระภาษีได้ 3 วิธี คือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคาร และ กรมศุลกากร

6.การตรวจสอบและการปล่อยสินค้า

       ขั้นตอนสุดท้ายเพื่อตรวจสอบและปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จรับเงินที่ชำระเรียบร้อยแล้วให้กับคลังสินค้า ข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งในขั้นตอนนี้ สินค้าดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบหรือยกเว้นการตรวจ ในกรณีเป็นใบขนสินค้ายกเว้นการตรวจ (Green Line) ใบขนสินค้าประเภทนี้จะใช้เวลาตรวจสอบน้อยมาก หากเป็นกรณีสินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการขนส่งทางบก จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร

7.การขนส่งไปยังผู้รับ

       เมื่อสินค้าได้ตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะทำการขนส่งไปยังผู้รับ โดยการขนส่งทางรถในประเทศไทย ซึ่งมีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ และเมื่อผู้รับสินค้าได้รับของเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจขนส่งสินค้า (อ่านเทคนิคการนำเข้าสินค้าด้วยตนเองได้ที่ รู้ทัน 8 เทคนิคนำเข้าสินค้าด้วยตนเองอย่างชาญฉลาด)

       อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในขั้นตอนการนำเข้าสินค้า ควรเลือกบริษัทชิปปิ้งที่เป็นมืออาชีพ เชื่อถือได้ และมีชั่วโมงบินสูงเพื่อความอุ่นใจว่าสินค้าจะมาถึงมืออย่างปลอดภัยหายห่วง อาทิ Papershipping ชิปปิ้งจีนที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการนำเข้ารายบุคคล