ชิปปิ้ง ยังมีการขนส่งอีกรูปแบบหนึ่งนั่นคือการขนส่งสินค้าทางทะเล มักจะถูกเรียกว่า Container Ship ซึ่งหมายถึง การขนส่งด้วยระบบตู้ Container
ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้า ที่ต้องการขนส่งในรูปแบบดังกล่าว ควรทำความเข้าใจกับการขนส่งทางเรือและประเภทของตู้ Containers ซึ่งส่วนใหญ่ทำจากเหล็กหรืออลูมิเนียม มีขนาดมาตรฐาน 20 ฟุต และ 40 ฟุต
การขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์
หนึ่งในรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศหรือชิปปิ้งที่ได้รับความนิยม คือ การขนส่งทางทะเล ซึ่งมีต้นทุนต่ำ ขนส่งได้ครั้งละมากๆ และป้องกันความเสียหายของสินค้าได้ดี ปัจจุบันรูปแบบการขนส่งสินค้าทางทะเลเป็นการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) สินค้าที่จะถูกขนส่งนั้น จะนำมาบรรจุตู้ (Stuffing) และขนย้ายขึ้นไว้บนเรือ ทำให้ Container Ship ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งไม่เพียงแต่รองรับการขนส่งสินค้าเท่านั้น ท่าเรือเองยังต้องถูกออกแบบเพื่อรองรับเรือประเภทนี้ด้วย หรือที่เรียกว่า Terminal Design เพื่อให้มีความเหมาะสมในด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น มีท่าเทียบเรือ เขื่อนกั้นคลื่น และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
Paper Shipping มืออาชีพด้านบริการชิปปิ้งจีน ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลด้วยเรือ Container Ship ซึ่งแยกประเภทของตู้คอนเทนเนอร์สำหรับขนส่งสินค้าออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
- Dry Cargoes คือตู้สินค้าสำหรับบรรจุภาชนะหรือหีบห่อ โดยไม่ต้องรักษาอุณหภูมิ หมายถึงเป็นตู้สำหรับใส่สินค้าโดยทั่วไป ภายในต้องทำที่กั้นเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าภายในขยับหรือเคลื่อนย้ายได้ อาจใช้ถุงกระดาษที่มีการเป่าลมเพื่ออัดช่องว่างระหว่างสินค้ากับตัวตู้คอนเทนเนอร์ โดยถุงดังกล่าวเรียกว่า Balloon Bags หรือสามารถใช้ไม้มาปิดกั้นขึ้นเป็นผนังหน้าตู้ขึ้นมา เรียกว่า Wooden Partition แต่ถ้าใช้เชือกไนลอนในการรัดหน้าตู้ เรียกว่า Lashing
- Refrigerator Cargoes คือตู้สินค้าที่มีเครื่องปรับอากาศภายในตู้ เพื่อปรับอุณหภูมิภายใน ทั้งนี้ จำเป็นต้องทำตามมาตรฐาน สามารถปรับอุณภูมิได้อย่างน้อย -18 องศาเซลเซียส สำหรับเครื่องทำความเย็นนี้จะติดตั้งเอาไว้กับตัวตู้คอนเทนเนอร์และมีปลั๊กในการใช้กระแสไฟฟ้าโดยเสียบจากภายนอกตู้ อีกทั้งต้องมีการวัดอุณหภูมิเพื่อแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้าประเภทนี้
- Garment Container เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกออกแบบเฉพาะ สำหรับการบรรจุสินค้าประเภทเสื้อผ้า ซึ่งมีราวไว้สำหรับแขวนเสื้อผ้า ซึ่งตู้นี้ส่วนใหญ่ใช้กับสินค้าประเภท Fashion ที่ไม่ต้องการพับหรือถูกบรรจุเอาไว้ใน Packing ที่อาจส่งผลให้เสื้อผ้ามีรอยยับหรือเกิดความไม่สวยงามได้
- Open Top ขนาดของตู้ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็น 40 ฟุต โดยตู้ลักษณะนี้ ถูกออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา เพื่อใช้สำหรับการวางสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักร หรือเป็นสินค้าที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผ่านประตูของตู้คอนเทนเนอร์ได้ จึงจำเป็นต้องขนย้ายโดยการยกส่วนบนของตู้แทน
- Flat-Rack เป็นพื้นที่ขนาดราบที่มีความกว้างและยาวตามขนาดของตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน พูดง่ายคือมีลักษณะเป็นตู้ซึ่งคล้ายกับคอนเทนเนอร์ หากแต่มีเพียงพื้นหรือ Platform แนวราบสำหรับวางสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ เช่น เครื่องจักร, แท่งหิน, ประติมากรรม, รถแทรกเตอร์ โดยสินค้าเหล่านี้อาจขนส่งด้วยทางเรือที่เป็นประเภท Conventional Ship แต่ถ้าต้องขนส่งทางเรือด้วยระบบ Container ต้องมาวางใน Flat-rack ก่อน เพื่อให้สามารถจัดเรียงกองได้ในรูปแบบ Slot ซึ่งเป็นลักษณะของเรือที่เป็น Container
ลักษณะของตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box)
ปกติแล้วตู้คอนเทนเนอร์เป็นตู้ที่มีขนาดมาตรฐาน ผลิตจากวัสดุที่เป็นเหล็กหรืออลูมิเนียม มีโครงสร้างภายนอกแข็งแรงและสามารถวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น หากมีการเรียงซ้อนกันจะมีการยึดหรือเรียกว่า Slot เพื่อให้แต่ละตู้มีการยึดติดกัน ส่วนใหญ่มีประตู 2 บาน แต่ละตู้นั้นมีการระบุรายละเอียด เช่น หมายเลขตู้ (Container Number) น้ำหนักของสินค้าที่บรรจุได้สูงสุด ฯลฯ
เมื่อปิดประตูตู้คอนเทนเนอร์แล้วจะมีที่ล็อกประตู โดยใช้การคล้องซีล (Seal) ซึ่งแบบเดิมเป็นตะกั่ว แต่ปัจจุบันเป็นพลาสติกซึ่งมีหมายเลขกำกับเอาไว้ เพื่อใช้ในการบ่งชี้สถานภาพ ตลอดจนมีการพัฒนาไปไกลถึง Electronic Seal ที่ช่วยให้สามารถเข้าไปตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ (Electronic Tracking) สามารถหาตำแหน่งของการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า และภายในตู้คอนเทนเนอร์มีพื้นที่สำหรับการบรรจุและการวางสินค้า
Paper Shipping ผู้ให้บริการชิปปิ้งจีนหรือขนส่งสินค้าจากจีนมาไทย ทั้งทางรถและเรือ เรามีจำนวนเรือที่ออกถี่ทุกวัน ทำให้ลูกค้าไม่ต้องรอสินค้านาน รวมทั้งมีระบบติดตามสถานะสินค้า ทำให้เช็คความเคลื่อนไหวของสินค้าได้ตลอด 24 ชม. พร้อมจัดส่งทั่วไทย
อ้างอิงข้อมูล http://www.marinerthai.net/sara/viewsara1006.php